ปรัชญา
–
วิสัยทัศน์
“เป็นสถานศึกษาต้นแบบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับให้กับประชาชนทุกช่วงวัยอย่างมีคุณภาพ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาศักยภาพในการดำเนินชีวิตของประชาชนให้สอดคล้องและเท่าทันพัฒนาการของโลกได้อย่างมีความสุข ”
พันธกิจ
- จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับอย่างมีคุณภาพ
- พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง หลักสูตรการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณวุฒิตามระดับของสถานศึกษา สื่อการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลให้เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและสอดคล้องกับบริบทในพื้นที่
- นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง
- ส่งเสริม สนับสนุนและประสานภาคีเครือข่ายในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ในชุมชน
- พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีองค์ความรู้ เพื่อเป็นครูมืออาชีพ
- พัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาและระบบประกันคุณภาพการศึกษา
อัตลักษณ์
–
กลยุทธ์การดำเนินงาน
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนทุกช่วงวัย
เป้าประสงค์
1.
ผู้เรียนและประชาชนทั่วไปได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การเรียนรู้
เพื่อการพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับที่มีคุณภาพ
2.
ผู้เรียนและประชาชนทั่วไปได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การเรียนรู้
เพื่อการพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม
กลยุทธ์ที่
2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัด ส่งเสริม
และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เป้าประสงค์
1.
ผู้เรียนและประชาชนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัด ส่งเสริม สนับสนุน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสู่การจัดการเรียนรู้ในชุมชน
2. ครูและบุคลากรจัดทำทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละตำบลเพื่อใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างการเรียนรู้จากองค์ความรู้ในตัวบุคคลให้เกิดการถ่ายทอดภูมิปัญญาสร้างคุณค่าทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
3. ผู้บริหารสถานศึกษาประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เพื่อการขยาย
พัฒนาการศึกษา
และการส่งเสริมการเรียนรู้ ให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวางและมีคุณภาพ
4.
สถานศึกษาส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียนและประชาชน
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
เป้าประสงค์
1. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ การวิจัยชั้นในเรียน
การสอนแบบโครงงานการเรียนรู้ เชิงรุก
ทักษะภาษาต่างประเทศ ทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะการสอนประวัติศาสตร์ชาติไทย
และทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ
2. คณะกรรมการการนิเทศของสถานศึกษา ได้รับการพัฒนาศักยภาพ
ให้สามารถปฏิบัติการนิเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล
กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้และทักษะในศตวรรษที่
21
เป้าประสงค์
1. หลักสูตรสถานศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีความ หลากหลาย
ทันสมัย เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้รับบริการและทักษะในศตวรรษที่
21
2. หลักสูตรการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาตนเอง
3. หลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4. หลักสูตรสถานศึกษาและ กระบวนการจัดการเรียนรู้มีคุณภาพ
ตามบริบทของสถานศึกษา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่
21
5. สถานศึกษามีการวัดและประเมินผล ที่หลากหลาย สามารถพัฒนาและ ประเมินผลผู้เรียนได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ที่ 5 ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
เป้าประสงค์
1. ส่งเสริมสนับสนุนการใช้สื่อ เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง
2. สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนรู้ เชิงรุก (Active Learning) และมี ระบบการวัดและประเมินผล
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ยืดหยุ่น ตอบสนองต่อความถนัดและความ สนใจของผู้เรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
เป็นรายบุคคล (Personalized Learning)
3. มีสื่อเทคโนโลยี นวัตกรรม และ แหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพและให้บริการ อย่างทั่วถึง
4. ครูจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน และการวิจัยในชั้นเรียนอย่างมีคุณภาพ
กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าประสงค์
1. สถานศึกษา มีการนำระบบข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ
2. สถานศึกษา มีระบบการบริหารจัดการ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
3. สถานศึกษามีระบบการจัดสรรทรัพยากรบุคลากร และงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบทตามหลักธรรมาภิบาล
4. สถานศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
5. สถานศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6. สถานศึกษาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์